ขอวีซ่า เชนเก้น(Schengen)..ทำอย่างไร มาดูกันเลย - Happy World Journey

เวลาทำการ
จันทร์ - ศุกร์ 09.00 – 18.00 น.

เบอร์โทรติดต่อ
065-368-2419

ขอวีซ่า เชนเก้น(Schengen)..ทำอย่างไร มาดูกันเลย

สิงหาคม 17, 2021 | by Happy World Journey

วีซ่าเชงเก้นเข้าได้กี่ประเทศ?

บุคคลที่ได้รับวีซ่าเชงเก้นจะสามารถเดินทางได้โดยเสรีไปยัง 26 ประเทศเชงเก้น โดยไม่ต้องขอตรวจวีซ่าที่ชายแดนของแต่ละประเทศอีกเพราะมีนโยบายด้านวีซ่าร่วมกัน ประกอบไปด้วยประเทศในยุโรป 26 ประเทศ ในจำนวนนี้มี 22 ประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยี่ยม สาธารณรัฐเชก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี อิตาลี แลตเวีย ลิธัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ โปรตุเกส สโลวัก สโลวีเนีย สเปน และสวีเดน และอีก 4 ประเทศนอกสหภาพยุโรป คือ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และลิกเตนสไตน์

สำหรับการขอวีซ่าเชงเก้นในแต่ละประเทศนั้นจะมีกฎระเบียบเบื้องต้นใกล้เคียงกัน พิจารณา หรือเอกสารเพิ่มเติมต่างกันบ้าง แต่ก็อาจจะมีบางประเทศที่แตกต่างออกไป เช่น อิตาลี ออสเตรีย สเปน และอื่นๆ ให้เราดำเนินการผ่านหน่วยงานกลาง VFS Global , ฝรั่งเศสจะผ่านทาง TLS หรือบางประเทศทางสถานทูตดำเนินการเอง ซึ่งระบบบางอย่างจะต่างกันไป เช่น เรื่องนัดหมาย หรือเวลา โดยสำหรับการเดินทางระยะสั้น ไม่เกิน 90 วัน และขอล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน

เตรียมตัวก่อนยื่นเอกสารขอวีซ่าเชงเก้น

การวางแพลนท่องเที่ยวนั้นสำคัญ ต้องวางแผนว่าเราจะเข้าประเทศไหน เที่ยวต่อประเทศไหน และออกประเทศไหน แต่ละประเทศใช้เวลาพำนักอยู่กี่วัน การวางแพลนนี้จะสามารถตัดสินได้ค่ะว่าเราจะต้องขอวีซ่าเชงเก้นกับสถานทูตประเทศอะไร

ปัจจัยหลัก 2 ข้อที่ต้องจำขึ้นใจเลยคือ

  • เราวางแผนจะพำนักอยู่ในประเทศไหนนานที่สุดให้ขอวีซ่าเชงเก้นกับสถานฑูตประเทศนั้นครับ เช่น แพลนของเราคือ ฝรั่งเศส 3 วัน เยอรมัน 5 วัน อิตาลี 4 วัน นั่นหมายความว่าเราต้องขอวีซ่าเยอรมันจากสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทยนั่นเองครับ สำหรับคนที่เคยยื่นขอวีซ่าเชงเก้นมาก่อนจะทราบดีว่าการขอวีซ่าเยอรมันนั้นยากสุดๆ แต่จริงๆแล้วก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยนะคะ
  • หากเราใช้เวลาพำนักอยู่ในประเทศที่เราเดินทางไปเท่ากันทุกประเทศให้ขอวีซ่าเชงเก้นกับประเทศแรกที่เราเดินทางไปถึงครับ เช่น แพลนของเราคือ เยอรมัน 3 วัน ฝรั่งเศส 3 วัน อิตาลี 3 วัน และเราจองตั๋วเครื่องบินจากไทยไปลงที่ประเทศเยอรมันเป็นประเทศแรก นั่นหมายความว่าเราต้องขอวีซ่าเยอรมันจากสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทยนั่นเองค่ะ

ขั้นตอนเตรียมเอกสารทำวีซ่าในการขอวีซ่าเชงเก้น

สำหรับใครที่กำลังวางแผนไปเที่ยวยุโรปต้องทำการบ้านและเตรียมเอกสารวีซ่าเชงเก้นกันให้ดีตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะในแต่ละประเทศจะมีรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ และการสัมภาษณ์ยากง่ายแตกต่างกันออกไป ผู้ขอวีซ่าควรเข้าไปศึกษาจากเวปไซด์ของประเทศนั้นๆ ก่อน เพื่อความถูกต้องของข้อมูลและความเรียบร้อยในการเตรียมเอกสาร ว่าแล้วก็มาจัดเอกสารและเรียนรู้วิธีขอเชงเก้นวีซ่าตั้งแต่ขั้นตอนแรกกันเลย

1. กรอกใบคำร้องขอวีซ่า 

เตรียมเอกสารทำวีซ่า สามารถดาวน์โหลด ได้จากเวปไซต์ของสถานทูตในประเทศที่คุณจะไปเป็นหลัก เช่น

  • สถานกงสุลเอสโตเนีย – คลิก
  • สถานทูตฝรั่งเศส – คลิก
  • สถานทูตเบลเยี่ยม – คลิก
  • สถานทูตประจำราชอาณาจักรเดนมาร์ก – คลิก
  • สถานทูตฟินแลนด์ – คลิก
  • สถานทูตประจำประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี – คลิก
  • สถานทูตประจำประเทศสาธารณรัฐโปแลนด์ – คลิก
  • สถานทูตประจำประเทศสาธารณรัฐเช็ก – คลิก
  • สถานทูตสวีเดน – คลิก
  • สถานทูตเนเธอร์แลนด์ – คลิก
  • สถานทูตออสเตรีย – คลิก
  • สถานทูตกรีซ – คลิก
  • สถานทูตสโลวาเกีย – คลิก
  • วีซ่ามอลต้า (สถานทูตออสเตรียเป็นตัวแทน) – คลิก
  • วีซ่าไอซ์แลนด์ (สถานทูตเดนมาร์กเป็นตัวแทน) – คลิก

การเตรียมเอกสารทำวีซ่า หลังจากกรอกใบคำร้องขอวีซ่าแล้วสามารถยื่นเอกสารได้ที่สถานทูต หรือหน่วยงานที่เป็นผู้จัดการรับเอกสารการยื่นคำร้องขอวีซ่า โดยควรยื่นไม่เกิน 3 เดือนก่อนเดินทาง และไม่น้อยกว่า 15 วันก่อนเดินทาง ถ้าเราจะไปมากกว่า 1 ประเทศในทริปนี้ ให้ยื่นเอกสารขอวีซ่าจากสถานฑูตประเทศที่เราจะไปพำนักอยู่นานที่สุด แต่ถ้าจะไปประเทศละแค่วันสองวัน ก็ยื่นเอกสารวีซ่าเชงเก้นจากประเทศแรกที่เราจะเข้าไปก็ได้เช่นกัน

2. พาสปอร์ต

ใครที่พาสปอร์ตใกล้จะหมดอายุ ควรต่อพาสปอร์ตให้เรียบร้อย เพราะพาสปอร์ตต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 3 เดือนจากวันที่เดินทางกลับ และพาสปอร์ตควรมีที่ว่างอย่างน้อย 2 หน้า และควรเตรียมสำเนาไว้อย่างน้อยๆ 2 ฉบับ หรือมากกว่า และควรเตรียมพาสปอร์ตเก่าที่มีวีซ่าของประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ หรืออเมริกาไปแสดงในวันสัมภาษณ์ด้วย

3. รูปถ่าย

เตรียมเอกสารทำวีซ่า รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 รูป สีพื้นหลังควรเป็นสีขาว หรือสีอ่อน ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน ไม่ผ่านการปรับแต่งรูปภาพใดๆ ทั้งสิ้น

4. หนังสือรับรองการทำงาน

เตรียมเอกสารทำวีซ่า หนังสือรับรองการทำงานที่เป็นภาษาอังกฤษ และเอกสารมีอายุไม่เกิน 1 เดือน

5. หนังสือรับรองจากธนาคาร

หนังสือรับรองธนาคารหรือเอกสารที่แสดงถึงรายได้ของผู้ขอวีซ่าช่วง 6 เดือนย้อนหลัง

6.รวบรวมเอกสารสำเนาการจองที่พัก และตั๋วโดยสาร

ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน รถไฟ ฯลฯ ใช้แค่หลักฐานการจองก็พอ ดังนั้น ควรใช้บัตรเครดิตจองไปก่อน อย่าเพิ่งซื้อก่อนได้วีซ่า เผื่อมีการเปลี่ยนแปลง

7. รายละเอียดแผนการเดินทาง

การเตรียมเอกสารวีซ่าเชงเก้นจะต้องบันทึกให้ละเอียดว่าจะมีการเดินทางเข้า – ออก ประเทศใดบ้าง โดยอาจเขียนเป็นรายวันว่า ไปประเทศใด เข้าพักที่ไหน เดินทางอย่างไร แบบละเอียด

8. หนังสือเชิญจากบริษัท หน่วยงาน ที่ระบุวัตถุประสงค์ชัดเจน

หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์ทางครอบครัวระหว่างผู้เชิญและผู้ยื่นวีซ่า (เช่น สูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้าน)

9.ค่าธรรมเนียม

เตรียมเอกสารทำวีซ่า จะมีค่าธรรมเนียมในการทำวีซ่า ประมาณ 2,500 บาท

10. กรรมธรรม์ประกันภัยการเดินทาง

การเตรียมเอกสารวีซ่าเชงเก้นจำเป็นต้องมี ประกันการเดินทางที่เชื่อถือได้ และมีวงเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลอย่างน้อย 30,000 ยูโร หรือประมาณ 1,300,000 บาทขึ้นไป โดยจะต้องครอบคลุมตลอดทั้งช่วงของการเดินทาง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของตนเองควรมองหาประกันในต่างประเทศที่คุ้มครองทั้งค่ารักษาพยาบาล อุบัติเหตุฉุกเฉินสำหรับการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำทางการแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง และครอบคลุมการคุ้มครองเกี่ยวกับการเดินทางเช่นกระเป๋าหาย หรือ ไฟลท์ดีเลย์อีกด้วย โดยควรศึกษารายชื่อบริษัทประกันที่สถานทูตแต่ละประเทศยอมรับอย่างเช่นประกันภัยจากซิกน่า เป็นต้น

เมื่อเตรียมเอกสารวีซ่าเชงเก้นทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็คือการทำนัดขอสัมภาษณ์ ซึ่งการตัดสินของสถานฑูตจะอยู่บนพื้นฐานของคำร้อง เอกสารสนันสนุน และการสัมภาษณ์ ถ้าโดนปฎิเสธวีซ่า ทางผู้จัดทำจะไม่สามารถคืนค่าธรรมเนียมได้ โดยเหตุผลในการปฏิเสธวีซ่าอาจเป็น

  • ผู้ยื่นขอวีซ่าไม่มีเอกสารการเดินทางที่ยังคงมีอายุ
  • ผู้ยื่นขอวีซ่าไม่สามารถแสดงเอกสารยืนยันเหตุผลของการเดินทางได้
  • ผู้ยื่นขอวีซ่าไม่มีเงินทุนสำหรับใช้จ่ายในระหว่างการเดินทางได้
  • ผู้ยื่นขอมีเจตนาที่จะหลบเลี่ยงเข้าประเทศโดยผิดกฏหมาย
  • ผู้ยื่นขอวีซ่าอาจถูกห้ามเข้ารัฐสมาชิกเชงเก้น บุคคลนั้นอาจถูกพิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงต่อความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของประเทศ หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ของรัฐสมาชิกบางรัฐ